ทำหน้าที่รับโปรแกรมและข้อมูล เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์รับเข้าที่เป็นที่
รู้จักและนิยมใช้ได้แก่
แป้นพิมพ์ ( KEYBOARD ) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่ทุกเครื่องจะต้องมีการรับข้อมูลคือ ผู้ใช้กดแป้นพิมพ์แล้วจึงแปลงรหัสเข้าสู่การประมวลผลต่อไป
เมาส์ (MOUSE) เป็น อุปกรณ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งานเพิ่มมากขึ้น เมาส์จะมีรูปร่างพอเหมาะกับมือ และมีลูกกลิ้งอยู่ข้างล่าง โดยระบบคอมพิวเตอร์จะทำงานสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของลูกกลิ้ง และรับคำสั่งจากการกดปุ่มเมาส์
สแกนเนอร์ (SCANNER) จะทำงานโดยการอ่านรูปภาพ แล้วแปรเปลี่ยนให้เป็นข้อมูลที่คอมพิวเตอร์สามารถที่จะเข้าใจได้
5.5 อุปกรณ์ส่งออก (OUTPUT DEVICE)
ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล อุปกรณ์ส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่
จอภาพ (MONITOR) เป็น อุปกรณ์ส่งออกที่ผู้ใช้คุ้นเคยมากที่สุด ใช้แสดงผลในรูปของข้อความและรูปภาพ เริ่มแรกนั้นมีการนำเอาโทรทัศน์มาเป็นจอภาพสำหรับการแสดงผล แต่ผลที่ได้ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก จึงมีการผลิตจอขั้นมาจอภาพนั้นมีหลายลักษณะซึ่งลักษณะที่ผู้ใช้ส่วนใหญ่คุ้น เคยและพบเห็นบ่อย ๆ ได้แก่
จอภาพแบบซีอาร์ที ( CATHODE RAY TUBE : CRT )
จะมีลักษณะจอ โค้งนูน ลักษณะการแสดงผลนั้นเริ่มแรกแสดงผลได้เฉพาะเป็นตัวอักษรเท่านั้น แต่จะมีความละเอียดสูงเรียกว่า จอภาพแบบสีเดียว (MONOCHROME DISPLAY ADAPTER :MDA ) ต่อมามีการพัฒนาจอสี (COLOR GRAPHIC ADAPTER : CGA) ซึ่งสามารถแสดงภาพสีและภาพกราฟิกได้ แต่จะแสดงตัวอักษรและตัวเลขได้ไม่ดีเท่าจอแบบสีเดียว จอรุ่นต่อมาที่สามารถแสดงภาพกราฟิกได้ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นเรียกว่า จอสีภาพละเอียด ( ENHANCE GRAPHIC ADAPTER: EGA )
ส่วนจอ สีภาพละเอียดพิเศษ (VIDEO GRAPHIC ARRAY: VGA) เป็นจอภาพที่มีความละเอียดสูงมาก ปัจจุบันจอภาพที่ใช้สำหรับงานคอมพิวเตอร์ในด้านการออกแบบจะใช้จอภาพ เอ็กซ์วีจีเอ (EXTRA VIDEO GRAPHIC ARRAY : XVGA) จอภาพแบบแอลซีดี ( LIQUID CRYSTAL DISPLAY: LCD )
เดิมเป็นจอ ภาพที่ใช้กับเครื่องคิดเลขและนาฬิกา แต่ปัจจุบันจะพบได้ในเครื่อง PC แบบพกพา เช่น โน้ตบุ้คหรือแล็ปท็อป จอภาพแบบนี้จะมีลักษณะแบนเรียบและบาง และได้พัฒนาให้การแสดงผลมีความละเอียดและได้ภาพที่ชัดเจน
เครื่องพิมพ์ (PRINTERS) ถือ เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่สำคัญรองลงมาจากจอภาพ เพราะจะแสดงผลลัพธ์ลงบนกระดาษทำให้สะดวกต่อการใช้งาน ( อุปกรณ์ที่สามารถเก็บผลที่แสดงออกมาได้ เราเรียกว่า HARD COPY ส่วนจอภาพจะเป็น SOFT COPY ) ลักษณะของเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในปัจจุบันได้แก่
เครื่องพิมพ์แบบจุด (DOT-MATRIX PRINTERS)
คุณภาพของงานพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ ชนิดนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนจุดของเครื่อง เพราะผลที่ได้จากการพิมพ์จะมีลักษณะเป็นจุด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้จะมีราคาถูกเหมาะสำหรับงานพิมพ์ที่ไม่ต้องการความ ละเอียดมากนัก เครื่องพิมพ์แบบจุดนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบกระทบ
( IMPACT PRINTER ) คือ เวลาพิมพ์หัวพิมพ์จะกระทบกับผ้าหมึก
เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึก (INKJET PRINTER)
หลักการทำงานคือการฉีดหมึกลงบนกระดาษเป็นจุดเล็ก ๆ เพื่อให้ได้รูปแบบงานพิมพ์ที่ต้องการ งานพิมพ์ที่ได้จะมีความละเอียดกว่าเครื่องพิมพ์แบบจุดมาก เครื่องพิมพ์แบบฉีดหมึกนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( NON - IMPACT PRINTER ) เพราะเครื่องพิมพ์แบบนี้ทำงานโดยไม่ต้องใช้แถบผ้าหมึก
เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (LASER PRINTER)
หลักการทำงานของเครื่องพิมพ์แบบนี้ จะใช้หลักการเดียวกันกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือใช้แสงเลเซอร์ในการพิมพ์เรียกว่า LED ( LIGHT-EMIT-TING DIODE) และ LCS (LIQUID CRYSTAL SHUTTER) ซึ่งจะพิมพ์งานออกทีละหน้า เราเรียกงานพิมพ์แบบนี้ว่า PPM ( PAGE PER MINUTE ) ทั้งงานพิมพ์ที่ได้ก็มีคุณภาพสูงและคมชัดมาก เวลาพิมพ์ก็ไม่ส่งเสียงดังรบกวน เครื่องพิมพ์แบบนี้จัดเป็นเครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ ( NON - IMPACT PRINTER ) เช่นกัน
พล็อตเตอร์ (PLOTTER)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มักจะใช้ในงานเขียนแบบ หรืองานด้านกราฟิก เช่นพิมพ์เขียว การพิมพ์แผนผังขนาดใหญ่ แผนที่ หัวพิมพ์จะทำงานเป็นเหมือนปลายปากกา ลักษณะงานพิมพ์จะเป็นงานที่ซับซ้อนและใช้กระดาษแผ่นใหญ่ ๆ ในการพิมพ์ 5.6 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ
โมเด็ม ( MODEM) ย่อมาจาก MODULATOR-DEMODULATOR ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูล
ประโยชน์ของโมเด็มเพื่อใช้ในการสื่อสารระยะไกลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่ต้องอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์ในการสื่อสารด้วย อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลของโมเด็มมีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที โมเด็มสามารถรับและส่งได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ภาพและเสียง ลักษณะของโมเด็มมี 2 แบบคือ
แบบ INTERNAL คือ เป็นแผงวงจรเสียบเข้าภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
แบบ EXTERNAL คือ เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อภายนอกกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แบบนี้จะมีราคาสูงกว่าแบบ INTERNAL
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น