วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดหน่วยที่2

แบบฝึกหัดหน่วยที่2

1. ข้อใดคืออุปกรณ์ด้านอินพุทยูนิต
ตอบ เครื่องพิมพ์

2. หน่วยประมวลผลข้อมูลกลางคืออะไร
ตอบ ซีพียู

3.ข้อไดไม่ใช่อุปกรณ์ต่อพ่วง
ตอบ เมนบอร์ด

4. เครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการฉีดพ่นหมึกคือข้อได
ตอบ อิงค์เจต

5. การที่ให้ปากกาเคลื่อนที่ไปมาบนเเกนโลหะเพื่อวาดภาพลงบนกระดาษเป็นหลักการของอุปกรณ์ชนิดได
ตอบ Flatbed Plotter

6. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่อ่านรหัสข้อมูลที่ติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ คืออุปกร์ได
ตอบ BaCode Reader

7. หน่วยความจำภายในกล้องดิจิตอลสามารถเก็บภาพได้ประมาณกี่ภาพ
ตอบ 30 ภาพ

8. ข้อไดไม่ใช่สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล
ตอบ รอม

9. สื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุมากกว่า 4.7 GB คือข้อได
ตอบ ฮาร์ดดิส

10. ข้อได้คือคุณสมบัติของเเฮนดี้ไดร์ฟ
ตอบ พกพาสะดวกจุข้อมูลมาก

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ  นางสาว ปิยาภรณ์  สอาดบุตร  ปวช.1/7  รอบ เช้า  เลขประจำตัว 022378 
ชอบสี ดำ ขาว เทา แดง น้ำเงิน  ร.ร. พงษ์สวัสดิ์พาณิชการณ์ 

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านภาพ และข้อความจากกระดาษ แล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำสายสแกนเนอร์ต่อเข้ากับพอร์ตขนานหรือพอร์ต USBของคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 11 : แสดงการต่อพ่วงสายสแกนเนอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์


            สแกนเนอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มักจะเป็นสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ ( Flatbed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้ สามารถสแกนภาพบนกระดาษได้ครั้งละ 1 แผ่น โดยส่วนใหญ่สแกนเนอร์แบบนี้จะสแกนขนาดกระดาษได้กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว แต่สแกนเนอร์บางตัวอาจจะสแกนได้กว้างตั้งแต่8.5 นิ้วและยาวได้ถึง 14 นิ้ว เป็นสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมใช้งานกันมาก

รูปที่ 12 : แสดงสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องอ่านรหัสแท่ง
            เครื่องอ่านรหัสแท่ง (BarCode Reader) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายปากกาหรือลักษณะอื่น ๆ ทำหน้าที่อ่านรหัสข้อมูลที่ติดไว้บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปมักนิยมใช้บริการขายสินค้า ณ จุดซื้อขาย (Point Of Sales Terminals) ของธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า หรือการบริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ต้องการ ความรวดเร็วในการกรอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นข้อความและตัวเลข
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 13 : แสดงการเครื่องอ่านรหัสแท่งที่ใช้ในธุรกิจค้าปลีก


            BarCodes Reader ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกรอกข้อมูลทางแป้นพิมพ์ที่มีรายละเอียดของตัวอักษรและตัวเลขจำนวนมาก หลักการทำงานจะใช้วิธีการยิงแสงเลเซอร์เพื่ออ่านแถบรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้ มีขนาด หนาบางแตกต่างกัน ติดอยู่บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แล้วนำรหัสข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรายละเอียดข้อมูล ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database) แล้วนำข้อมูลไปแปลงเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่จัดเก็บไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยที่การทำงานของBarCode Reader นั้นจะต้อง มีโปรแกรมควบคุมการทำงานด้วย

รูปที่ 14 : แสดงรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้


รูปที่ 15 : แสดงเครื่องอ่านรหัสแท่งแบบต่าง ๆ




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 16 : แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทจอยสติก




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            กล้องดิจิตอล (Digital Camera) เป็นกล้องถ่ายภาพโดยไม่ใช้ฟิล์ม แต่จะเก็บข้อมูลเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์แทนซึ่ง เราสามารถนำไฟล์ภาพมาประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้ การใช้งานจะต่อสายเคเบิลระหว่างกล้องดิจิตอลกับพอร์ตของ เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสำเนาหรือโอนย้ายไฟล์ไปยังตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 17: แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทกล้องดิจิตอล


            กล้องดิจิตอล โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีหน่วยความจำภายในตัวกล้องดิจิตอลเอง ซึ่งหน่วยความจำนี้สามารถเก็บภาพได้อย่างน้อย 20 ภาพ เมื่อถ่ายภาพจนเต็มหน่วยความจำก็ให้ย้ายไฟล์รูปภาพไป ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วค่อยนำกล้องไปถ่ายภาพใหม่ได้อีกครั้ง

รูปที่ 18 : แสดงกล้องดิจิตอลประเภทที่มีหน่วยความจำภายในตัว




สื่อบันทึกข้อมูล
            สื่อบันทึกข้อมูลหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาเรียกใช้หรือแก้ไขในภายหลังได้ สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้กันอยู่มี หลายประเภทได้แก่ ฮาร์ดดิสก ์แผ่นดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมร์ไดร์ฟหรือแฮนดรี้ไดร์ฟ เป็นต้น

ฮาร์ดดิสก์
            ฮาร์ดดิสก์คือสื่อบันทึกข้อมูล ที่มีความจุสูงและถูกติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างภายในฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางเรียงซ้อนกันบนแกนตั้ง มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง แต่ละแผ่นจะมีหัวอ่านเขียน ยึดติดกับก้านหัวอ่าน (Access Arm) ทำหน้าที่เขียนอ่านในแต่ละด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์แต่ละแผ่นมีโครงสร้างคล้ายกับแผ่นดิสก์เก็ต คือแบ่งเป็น แทร็กและเซ็กเตอร์ แต่ละแทร็ก ที่อยู่ในตำแหน่งตรงกันของทุกแผ่นเราเรียกว่า Cylinder ลักษณะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ทั้งแบบ Sequential Access และ แบบRandom Access

รูปที่ 19: แสดงโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ภายนอกและภายใน


            การวัดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ จะพิจารณาจากเวลาเข้าถึงข้อมูล (Access Time) คือเวลาตั้งแต่เริ่มเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล จนได้ปริมาณข้อมูลตามที่ต้องการ ต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้คือ

- Seek Time คือเวลาที่หัวอ่านใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่ง Track ที่ต้องการ ถ้าใช้เวลาน้อย แสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพสูงมาก

- Rotational Delay Time คือเวลาที่รอให้แผ่นดิสก์หมุนเคลื่อนที่ Sector ที่ต้องการมาตรงกับตำแหน่งของหัวอ่านเขียน ถ้าใช้เวลารอน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก

- Data Tranfer Time คือเวลาที่ใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลจากเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์เข้าสู่หน่วยความจำ ยิ่งใช้เวลาน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการโอนถ่ายข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยเวลา (Tranfer Rate)

รูปที่ 20 : แสดงหัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์


ดิสก์เกต
            ดิสก์เกต (Diskette) หรือแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ หรือแผ่นดิสก์ คือสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะเนื้อแผ่นกลมบางทำมาจากพลาสติกไมล่าร์ หมุนอยู่ในพลาสติกห่อหุ้ม (Jacket) อีกชั้นหนึ่ง รหัสข้อมูล0 , 1 สร้างเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าบนออกไซด์ของโลหะที่ฉาบไว้ บนแผ่นพลาสติกไมล่าร์ ต้องใช้ร่วมกับเครื่องขับแผ่นดิสก์ สามารถบันทึกและแสดงผลข้อมูลได้

รูปที่ 21 : แสดงรายละเอียดของแผ่นดิสก์ขนาดความจุ 1.44 MB


- metal shutter คือ แผ่นโลหะสำหรับเลื่อนเปิดปิดเพื่ออ่านเขียนข้อมูลภายในดิสก์
- data access area คือพื้นที่สำหรับอ่านเขียนข้อมูล
- hard plastic jacket คือพลาสติกแข็งห่อหุ้มแผ่นดิสก์ที่อยู่ภายใน
- label คือพื้นที่สำหรับติดแผ่นฉลากเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเป็นแผ่นที่เก็บข้อมูลอะไร
- hub คือบริเวณหรือตำแหน่งที่เกี่ยวแผ่นดิสก์เมื่อใส่เข้าไปยังเครื่องขับดิสก์
- write-protect notch ตำแหน่งป้องกันการเขียนทับ สามารถเลื่อนเพื่อให้เขียนทับ
หรือไม่ก็ได้ บริเวณดังกล่าวจะมีสัญลักษณ์แสดงว่าปัจจุบันอยู่ในสภาวะใด

รูปที่ 22 : แสดงการใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับเครื่องขับดิสก์


            โครงสร้างของเนื้อแผ่นดิสก์ มีการแบ่งโครงสร้างในการบันทึกข้อมูลเป็นวงกลมหลาย ๆ วงบนแผ่นดิสก์ เรียกว่า Track แต่ละ Track จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า Sector ในแต่ละSector สามารถบรรจุข้อมูลได้ 512 Byte และสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง( 2 sides)แผ่นดิสก์แต่ละประเภทมีโครงสร้างจำนวน Track และจำนวน Sector ในแต่ละ Track ต่างกัน ทำให้แผ่นดิสก์มีขนาดความจุต่างกันด้วย

รูปที่ 23 : แสดง Track และ Sector ของแผ่นดิสก์


            แผ่นดิสก์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 MB แบบ Double Side High Density แบ่งเป็นวงกลมได้ทั้งหมด 80 วง (คือ 80 Track) ภายใน 1 Track แบ่งออกเป็น 18 Sector แต่ละ Sector เก็บข้อมูลได้ 512 Byte จำนวน 2 หน้า เพราะฉะนั้นแผ่นดิสก์ 1 แผ่นจึงมีความจุเท่ากับ 1,474,560 Byte (80 X 18 X 512 X 2 ) หรือมีค่าเท่ากับ 1,440 KB (1,024 Byte = 1 KB)หรือมีค่าประมาณ 1.44 MB (1,024 KB = 1 MB)

            อดีของแผ่นดิสก์คือง่ายและสะดวกในการพกพา สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง การอ่านเขียนข้อมูลทำได้ทั้งแบบลำดับ (Sequential) และแบบสุ่ม (Random) ราคาถูก ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์แบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ทุกประเภท แต่มีข้อเสียคือต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง ความจุน้อย อายุการใช้งานน้อย ถ้าหักงอ โดนความร้อน โดนสนามแม่เหล็ก โดนน้ำ จะทำให้แผ่นดิสก์เสียหายและใช้งานไม่ได้

ซีดีรอม
            ซีดีรอม (Compact Disk-Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง โครงสร้างเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic หลักการทำงานจะใช้แสงเลเซอร์ (Laser) ฉายลงไปบนพื้นผิวของแผ่น ทำให้เกิดหลุมรหัสเป็น 0 และ 1 การอ่านข้อมูลก็ใช้แสงเลเซอร์กวาดไปบนพื้นผิวของแผ่นแล้วใช้แสงสะท้อนกลับที่ได้แปลงไปเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้

รูปที่ 24 : แสดงแผ่นซีดีรอม


            แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเหมือนแผ่นซีดีเพลงทั่วไป มีความจุประมาณ 600 - 700 MB แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต มีความยาวของการบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 74 นาที อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมได้อย่างเดียวผู้ใช้ไม่สามารถลบหรือบันทึก ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกมาจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว ประโยชน์ของซีดีรอมคือ ใช้ในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ หรือ ข้อมูลที่มีขนาดความจุมากพอสมควรเก็บรักษาได้ง่ายกว่าแผ่นดิสก์ การนำแผ่นซีดีรอมไปใช้งานจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อ่าน ข้อมูลที่เรียกว่าซีดีรอมไดร์ฟ มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access             ความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟจะใช้หน่วยวัดเป็น จำนวนเท่า ของความเร็วการอ่านข้อมูลที่ 150Kb ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรก ๆ โดยจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร “X” ต่อท้ายเพื่อบอกจำนวนเท่า สำหรับซีดีรอมที่จำหน่ายในปัจจุบันมีความเร็วอย่างน้อย 50 X

รูปที่ 25 :แสดงแผ่นซีดีรอมและซีดีรอมไดร์ฟ


            ซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า WORM (Write Once Read Many ) มีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่นซีดีรอมทั่วไป แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น WORM ได้ 1 ครั้ง โดยใช้ซีดีรอมไดร์ฟชนิดบันทึกได้ที่เรียกว่า CD-ROM Recordable แต่สามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้กี่ครั้งก็ได้ มีความจุประมาณ 650 MB มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access มีราคาแพงกว่าแผ่นซีดีรอมทั่วไป

รูปที่ 26 : แสดงแผ่นซีดีรอม WORM


            แผ่นซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Erasable Optical Disks มีลักษณะแนวคิดในการเขียนอ่านได้หลาย ๆ ครั้ง เหมือนกับแผ่นดิสก์แต่ใช้แสงเลเซอร์ในการทำงาน การใช้งานต้องใช้งานร่วมกับ Optical Disk Drive หรือที่เรียกว่า MO (Magneto-optical) หรือที่เรียกว่า CD-Writer ปัจจุบันนิยมซื้อหามาใช้กันมากเพราะมีราคาถูก และใช้งานแทนซีดีรอมทั่วไปได้ เพราะสามารถอ่านหรือเขียนแผ่นซีดีรอมได้ มีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป

รูปที่ 27 : แสดงแผ่นซีดีรอมที่สามารถอ่านและเขียนได้


ดีวีดีรอม
            ดีวีดีรอม (DVD-ROM) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงมากกว่าซีดีรอม โครงสร้างของแผ่นเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic ดีวีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4.7 GB ซึ่งเหมาะสำหรับการเก็บภาพยนตร์หรือไฟล์มัลติมีเดีย จำนวนมาก ภาพและเสียงของดีวีดีรอมจะมีความคมชัดมากกว่าซีดีรอม แต่แผ่นดีวีดีรอมจะต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ ดีวีดีรอมไดร์ฟ อุปกรณ์ดีวีดีรอมไดร์ฟสามารถอ่านแผ่นได้ทุกประเภท            

รูปที่ 28 : แสดงแผ่นดีวีดีรอมที่ใช้ร่วมกับดีวีดีรอมไดร์ฟ


แฮนดี้ไดร์ฟ
            แฮนดี้ไดร์ฟ (Handy Drive) หรือทัมพ์ไดร์ฟ (Thum Drive) คือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบัน ได้รับความนิยมใช้กันมาก สื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เหมือนกับแผ่นดิสก์ และฮาร์ดดิสก์ แต่มีข้อดีตรงที่ว่าพกพาได้สะดวกขนาดเล็กกว่าแผ่นดิสก์ มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์หลายเท่า เช่น 128 , 256 , 512 MB , 1 GB , 2 GB พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้คือพอร์ต USB (Universal Serial Bus)

  
รูปที่ 29 :

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง
            ลำโพง (Speaker) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับสัญญาณข้อมูลจากการ์ดเสียงที่เป็นสัญญาณไฟฟ้าให้เป็นสัญญาณเสียง ลำโพงที่มา พร้อมกับคอมพิวเตอร์ ส่วนใหญ่จะเป็นลำโพงขนาดเล็กที่มีคุณภาพไม่ดีนัก แต่เราสามารถหาซื้อลำโพง คุณภาพสูงมาเปลี่ยนได้เพื่อจะได้ฟังเพลงหรือเล่นเกมได้อรรถรสมากขึ้น
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 10 : แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทลำโพง


อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพลอตเตอร์

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพลอตเตอร์
            พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นอุปกรณ์แสดงผลต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อวาดภาพ กราฟ วงจรลวดลายต่าง ๆ ลงบนกระดาษขนาดใหญ่ ๆ เหมาะกับงานด้านวาดภาพกราฟิก งานด้านการออกแบบที่ต้องการคุณภาพสูง

รูปที่ 7 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์


            หลักการทำงาน พลอตเตอร์ประกอบด้วยปากการหมึกหลายสี จำนวน 1 - 6 แท่ง เคลื่อนที่บนแกนโลหะ ควบคุมการทำงานด้วยซอฟต์แวร์ ทำการวาดจุดเล็ก ๆ ให้เป็นเส้น ลวดลายหรือภาพลงบนกระดาษขนาดใหญ่ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ

1. Flatbed Plotter เป็นพลอตเตอร์ประเภทที่ใส่กระดาษวางไว้อยู่กับที่ แต่ส่วนเคลื่อนที่คือปากกา ซึ่งจะเคลื่อนที่ไปมาบนแกนโลหะเพื่อวาดลงบนกระดาษอีกทีหนึ่ง

รูปที่ 8 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์แบบ Flat bed


2. Drum Plotter เป็นเครื่องพลอตเตอร์ที่มีล้อยางด้านล่าง ทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษ ส่วนปากกาและหมึกจะอยู่ด้านบน เคลื่อนที่ไปทางด้านซ้ายและขวาเพื่อวาดรูปหรือวงจรตามต้องการ

รูปที่ 9 : แสดงเครื่องพลอตเตอร์แบบ Drum

ประเภทของเครื่องพิมพ์

ประเภทของเครื่องพิมพ์
1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์

1. เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก
            เครื่องพิมพ์ดอตเมตริก (Dot Matrix) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกลงไปบนผ้าหมึกเพื่อให้หมึกที่ จะพิมพ์ตัวอักษรไปปรากฏบนกระดาษพิมพ์ เวลาพิมพ์จะมีเสียงดังมาก ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาแพงส่วนผ้าหมึกจะมีราคาถูก ปัจจุบันใช้ในงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการสำเนาหลายชุด เช่นใบสั่งซื้อ บิลเงินสด ใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของ เป็นต้น

รูปที่ 4 : แสดงเครื่องพิมพ์ดอตเมตริก


            หัวพิมพ์จะประกอบด้วยเข็มโลหะเล่มเล็ก ๆ วางเรียงกันเป็นแถวจำนวน 9 เข็มหรือ 24 เข็มเข็มแต่ละเล่มจะรับสัญญาณ ควบคุมให้พุ่งผ่านผ้าหมึก (Ribon) ไปตกกระทบบนกระดาษซึ่งมีล้อยางรองรับอยู่ด้านหลังให้เรียงจุดเป็นตัวอักษรหรือภาพ โดยล้อยางจะทำหน้าที่เคลื่อนกระดาษให้เลื่อนบรรทัดในการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนตัวอักษรต่อวินาที เครื่องพิมพ์ที่มีความเร็วสูงสามารถเคลื่อนหัวพิมพ์ได้สองทิศทาง มีทั้งขนาดแคร่สั้นและแคร่ยาว สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ ถ้าเป็นการพิมพ์ประเภทสีจะใช้หลักการเคลื่อนผ้าหมึกสี (น้ำเงิน เขียว แดง ดำ) ผสมสีกัน

2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก
            เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink Jet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่อาศัยหลักการพ่นหมึกออกมาบนกระดาษพิมพ์โดยมีหัวพิมพ์เคลื่อน ที่บนแกนโลหะ การทำงานของหัวพิมพ์ใช้วิธีการฉีดพ่นน้ำหมึกเป็นจุดขนาดเล็ก ๆ จากกลักน้ำหมึกให้เป็นตัวอักษรหรือรูปภาพ แทนลงบนกระดาษ ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นขนาดA4(8.27 X 11.69 นิ้ว) หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที การพิมพ์สีจะใช้หลักการพ่นหมึก3 สีคือ น้ำเงิน แดง และเหลือง ผสมกัน

รูปที่ 5 : แสดงเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก


            ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกคือ มีความเร็วในการพิมพ์สูงกว่าแบบดอตเมตริก สามารถพิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ มีคุณภาพสูง สามารถพิมพ์ได้ทั้งสีและขาวดำ แต่มีข้อเสียคือความคมชัดน้อยกว่าเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษสำเนาหลายชั้นเหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกได้ ไม่สามารถพิมพ์ลงบนกระดาษผิวมันและลื่นได้ เพราะหมึกอาจเลอะเปื้อนกระดาษหมึกของเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีราคาแพงมาก แต่ตัวเครื่องพิมพ์จะมีราคาถูก หมึกของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะเก็บอยู่ในตลับหมึก เมื่อหมึกหมดก็เพียงแต่เปลี่ยนตลับหมึกอันใหม่ก็ใช้งานได้ทันที นอกจากการเปลี่ยนตลับหมึกแล้วยังสามารถเติมหมึกเองก็ได้สำหรับเครื่องบางยี่ห้อ

3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์
            เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ มีราคาแพงกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก มีคุณภาพในการพิมพ์สูงเหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการความเร็วและตัวอักษรคมชัด มีหลักการทำงานคล้ายกับเครื่องถ่ายเอกสาร โดยจะทำการแปลงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ให้เป็นรหัสแล้วใช้ลำแสงเลเซอร์ยิงเป็นรูปภาพต้นแบบลงบนแท่นพิมพ์ที่เป็นล้อยาง (Drum) แล้วทำการใช้ความร้อนดูดผงหมึกจากกลัก (Toner) เข้ามาติดกับล้อยางตามแบบพิมพ์ จากนั้นกระดาษจะถูกรีดด้วยล้อยาง ผ่านแม่พิมพ์ที่มีผงหมึกติดอยู่ทำให้เกิดเป็นตัวอักษรหรือภาพบนกระดาษ ความละเอียดของการพิมพ์วัดเป็นจำนวนจุดต่อตารางนิ้ว (Dot Per Inch : DPI) ขนาดกระดาษที่ใช้มักเป็นกระดาษขนาด A4 หรือขนาดที่เล็กกว่า ความเร็วในการพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์นับเป็นจำนวนหน้าต่อนาที

รูปที่ 6 : แสดงเครื่องพิมพ์เลเซอร์


            ข้อดีของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์คือ มีความเร็วในการพิมพ์สูง พิมพ์ตัวอักษรและภาพได้หลายแบบ มีคุณภาพและความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริกและเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่มีข้อเสียคือ ไม่สามารถพิมพ์กระดาษหลายชั้นที่ต้องการสำเนาได้ กลักผงหมึกมีราคาแพงมาก กระดาษที่ใช้ต้องมีคุณภาพดี การบำรุงรักษาค่อนข้างยุ่งยากเมื่อเทียบกับเครื่องพิมพ์แบบดอตเมตริก ปัจจุบันมีบางบริษัทนำเอาตลับหมึกใช้แล้วมาผลิตใช้ ใหม่อีกครั้งแล้วขายในราคาถูก ตลับหมึกประเภทนี้ควรจะระมัดระวังในการซื้อใช้ เพราะจุดนี้อาจจะเป็นเงื่อนไขให้ผู้ผลิต เครื่องพิมพ์ยกเลิกสัญญารับประกัน

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพิมพ์

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องพิมพ์
            เครื่องพิมพ์ (Printer) เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงกับคอมพิวเตอร์เพื่อพิมพ์ข้อมูลออกทางกระดาษพิมพ์ โดยรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ผ่านสายเคเบิลไปยังเครื่องพิมพ์ดังรูป

รูปที่ 2 : แสดงการเชื่อต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์


            เมื่อต่อเชื่อมเครื่องพิมพ์เข้ากับ เครื่องคอมพิวเตอร์ได้แล้วให้ทำการติดตั้ง ไดรเวอร์ที่บริษัทให้มาพร้อมกับเครื่องพิมพ์ซึ่ง อาจจะเป็น แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์ โดยการใส่แผ่นซีดีรอมหรือแผ่นดิสก์เข้าไป ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรมจะทำงานโดยอัตโนมัติ (Autorun) แล้วทำการติดตั้งตาม เมนูที่ปรากฏบนจอภาพ

รูปที่ 3 : แสดงไดรเวอร์ที่ติดตั้งเพื่อใหคอมพิวเตอร์รู้จักเครื่องพิมพ์

หลักการทำงานของอุปกรณ์ต่อพ่วง

คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง
คุณลักษณะของคอมพิวเตอร์
แบ่งออกได้ 5ประเภทได้แก่

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงสุด มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะการทำงานสูงแต่ไม่เน้นความเร็วในการคำนวณเป็น หลัก แต่มีความเร็วสูง นิยมใช้ในองค์กรใหญ่ๆ
3. มินิคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในองค์กร ขนาดกลาง
4.ไมโคร คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเพราะประสิทธิภาพสูง ราคาไม่แพงจึงเหมาะสำหรับใช้ส่วนตัวที่บ้าน โรงเรียน เป็นต้น
5. คอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลประจำวันได้ เล่นเกม ฟังเพลงได้ เป็นต้น เช่น ไอโฟน บีบี เป็นต้น

อุปกรณ์ ต่อพ่วง
1. เครื่องพิมพ์ชนิดต่าง ๆ (Printer)
เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อทำหน้าที่ในการแปลผลลัพธ์ ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปของอักขระหรือรูปภาพ ที่จะไปปรากฏอยู่บนกระดาษนับเป็นอุปกรณ์แสดลงผลที่นิยมใช้เครื่องพิมพ์แบ่ง ออกเป็น 4 ประเภท
1. เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ (Dot Matrix Printer)
2. เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก (Ink-Jet Printer)
3. เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (Laser Printer)
4. พล็อตเตอร์ (plotter)

2. เครื่องสแกนภาพ (Scanner)
สแกนเนอร์ คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของอนาล็อกเป็นดิจิตอลซึ่ง คอมพิวเตอร์สามารถแสดงเรียบเรียงเก็บรักษาและผลิตออกมาได้ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติสามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ  ได้ดังนี้

1. ในงานเกี่ยว กับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
2. บันทึก ข้อมูล ลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์
3. แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์
4. เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่างๆลงในในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่างๆโดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์ ชนิดของสแกนเนอร์และความสามารถในการทำงานของ สแกนเนอร์แบ่งออกได้เป็น

1. Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader III
2. Transparency and slide scanners ScanMaker ซึ่งถูกใช้สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์

สิ่งที่จำเป็น สำหรับการสแกนภาพ  มีดังนี้
1. SCSI และสาย SCSI หรือ Parallel Port สำหรับต่อจากสแกนเนอร์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
2. ซอฟต์แวร์ สำหรับการสแกนภาพซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของสแกนเนอร์ให้สแกนภาพตามที่ กำหนด
3. สแกนเอกสาร เก็บไว้เป็นไฟล์ที่นำมาแก้ไขได้อาจต้องมีซอฟแวร์ที่สนับสนุนด้าน OCR
4. จอภาพที่ เหมาะสมสำหรับการแสดงภาพที่สแกนมาจากสแกนเนอร์
5. เครื่อง มือ สำหรับแสดงพิมพ์ภาพที่สแกน เช่น เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรือสไลด์โปรเจคเตอร์

3. โมเด็ม (Modem)
เป็น อุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้ อย่างง่ายดายโมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบ คอมพิวเตอร์ของเราสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทั่วโลกโมเด็มจะ สามารถทำงานของเราสามารสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆได้ทั่วโลกโมเด็มจะสามารถ ทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วย การเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่ง ซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณ ดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณ อนาลอก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์ความ สามารถของโมเด็ม เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆได้หลายอย่าง เช่น
1. ใช้ บริการ ต่างๆ จากที่บ้าน เช่นสั่งซื้อของผ่านอินเตอร์เน็ต
2. ท่องไปบน อินเตอร์เน็ต
3. เข้าถึง บริการออนไลน์ได้
4. ดาวน์โหลด ข้อมูล , รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้
5. ส่ง – รับโทรสาร
6. ตอบรับ โทรศัพท์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์
แม้คอมพิวเตอร์ดูเหมือนว่ามีความซับซ้อนมากน้อยเพียงไรแต่เราสามารถแบ่งการทำงานของเครื่องได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
 รับข้อมูล (Input) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่รับคำสั่งจากผู้ใช้เข้าไปในเครื่องโดยผ่านอุปกรณ์ เช่น คีบอร์ด เมาส์ จอยสติ๊ก เป็นต้น
 ประมวลผล จะทำการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ โดยหน่วยประมวลผลที่มีชื่อเรียกว่า ซีพียู (CPU: Central Processing Unit)
      นั้นเปรียบได้เหมือนป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ซึ่งสมรรถนะของเครื่องจะขึ้นกับความเร็วในการทำงานของหน่วยประมวลผล
     
      สำหรับชุดคำสั่งที่ป้อนให้หน่วยประมวลผลนั้นเรียกว่าโปรแกรม ซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่ให้คอมพิวเตอร์ทำหน้าที่บางอย่างเฉพาะเจาะจง
 แสดงผล เป็นส่วนที่แสดงหรือส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้ ซึ่งอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่นี้ ได้แก่ จอภาพ (แสดงภาพหรือข้อความ)
      ลำโพง(ส่งเสียง) เป็นต้น

      นอกจากการทำงานของเครื่อง 3 ขั้นตอน ยังมีส่วนประกอบสำคัญได้แก่ หน่วยความจำ (Memory) ในเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งมี
หน่วยความจำสำหรับพักข้อมูลที่ต้องนำมาใช้ในการประมวลผล โดยรูปแบบการเก็บข้อมูลในเครื่องนั้นมีหน่วยเป็นบิต ที่มีค่าได้เพียง 2 ค่าคือ
0 หรือ 1 เท่านั้น เมื่อเรานำข้อมูลมาเรียงต่อกันหลายบิต ก็จะทำให้เราสามารถแทนค่าได้มากขึ้น โดยข้อมูลที่มีขนาด 8 บิต มีชื่อเรียกว่า ไบต์
      เราใช้หน่วยไบต์ในการวัดขนาดของหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเรามักได้ยินคำ เช่น กิโลไบต์ ,เมกะไบต์และกิกะไบต์
      เราสามารถแสดงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นผังแบบง่ายๆได้ดังรูป



การทำงานของคอมพิวเตอร์

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เมนบอร์ดรุ่นล่าสุด

ASUS P5K3 Deluxe WiFi-AP

 เมนบอร์ดรุ่นล่าสุดที่รองรับ DDR3 เพื่อความแรงแบบฉุดไม่อยู่

เป็นเมนบอร์ดรุ่นล่าสุดที่ออกมารองรับกับซีพียูอย่าง Core 2 Quard ที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมด้วยเทคโนโลยีใหม่อย่าง DDR3 หน่วยความจำที่กำลังจะลงตลาดในอนาคต รองรับความแรงด้วยชิปใหม่อย่าง P35 จาก Intel และ มาตรฐานของ Socket775 เหมือนเดิม


Attached Image: monthly_06_2007/post-4-1182974496.jpg


Core 2 Quard คือ ปกติ cpu เมื่อก่อนมี Core แค่ Core เดียว แต่ตอนนี้มีถึง 4 Core แล้วนะครับ

Brand : ASUS
Model : P5K3 Deluxe WiFi-AP

CPU :
• Core 2 Quad
• Core 2 Extreme
• Core 2 Duo
• Intel Pentium D, Pentium 4

Chipset :
Intel P35 / ICH9R with Intel Fast Memory Access Technology

Font Side Bus : 1333 / 1066 / 800 MHz

Memory :
• 4 DIMM Max : 8GB
• DDR3 1333 / 1066 / 800 MHz Non-ECC, Unbuffered

Expansion Slots :
• 2 x PCI-E x16
• 2 x PCI-E x1
• 3 x PCI

Stroage :
• 6 x SATA II
• 1 x UDMA 133/100/66
• 2 x External SATA Port
• RAID SATA Support

Network Connection :
• Dual Gigabit Lan
• ASUS WiFi-AP IEEE 802.11g , IEEE 802.11b

Audio :
ADI AD1988B 8Ch HD

IEEE 1394 :
• 1 x IEEE1394a Back panel
• 1 x IEEE1394a Midboard

USB :
10 x USB2.0 Port

Back Panel I/O Ports :
• 1 x PS/2 Keyboard
• 1 x S/PDIF Out (Coaxial + Optical)
• 2 x External SATA
• 2 x IEEE1394a
• 2 x RJ45 port
• 6 x USB 2.0/1.1
• 1 x WiFi-AP Solo antenna jack
• 8-channel Audio I/O

Form Factor :
ATX Form Factor 12" x 9.6"

Warranty :
3 Year

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ส่งงานอาจารย์ ศรัณย์

งานคอมพิวเตอร์


1. เมนบอร์ด

เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรหลักสำหรับติดตั้งอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ต่างๆ เกือบทั้งหมด โดยจะมีหน้าที่ในการประสานงานและติดต่อรับส่ง
ข้อมูลโดยผ่านระบบบัส บนเมนบอร์ดก็จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญๆ รวมอยู่ด้วย เช่น สล็อต


ซ็อกเก็ตสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ชิพเซ็ตที่ทำหน้าที่เหมือนแม่บ้าน คอยจัด
การและประสานงานให้กับอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งบนเมนบอร์ด นอกจากนี้ก็ยังรวม
เอาแผงวงจรและชิพควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์
Controller)
2. แรม
แรมคือหน่วยความจำที่ทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลร่วมกับซีพียูอยู่
ตลอดเวลา ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะต้องมาพักที่แรมเสมอก่อนจะถูกส่ง
ไปยังซีพียู ดังนั้นยิ่งแรมมีขนาดมากขึ้นเท่าไหร่ก็สามารถพักข้อมูลไว้กับแรมได้
มากขึ้น ทำให้ซีพียูไม่ต้องเรียกข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์บ่อยๆ ซึ่งฮาร์ดดิสก์มีความเร็ว
ในการอ่านและเขียนข้อมูลน้อยกว่าแรม ส่งผลให้ระบบของเราทำงานได้เร็วขึ้น
ในปัจจุบันแรมมีหลายชนิด
3. เพาเวอร์ซัพพลาย

พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

4. ฮาร์ดดิสก์


ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่สำหรับเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลสำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมต่างๆ
ซึ่งไม่สามารถเก็บไว้ในแผ่นฟล็อบปี้ดิสก์ที่มีความจุน้อยได้ ภายในฮาร์ดดิสก์
จะประกอบไปด้วยแผ่นจานโลหะแข็ง
จะมีแขนที่เป็นตัวเคลื่อนหัวอ่านเข้าไปอ่านและเขียนข้อมูลตามตำแหน่งที่ต้องการ
และจะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นโดยตรงแต่จะมีช่องว่างห่างกันประมาณ
ทำให้การอ่านข้อมูลจากแผ่น
จากการสัมผัส โดยจะมีความเร็วรอบอยู่ 
5. C D- ROM




การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น