1. เมนบอร์ด
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรหลักสำหรับติดตั้งอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์ต่างๆ เกือบทั้งหมด โดยจะมีหน้าที่ในการประสานงานและติดต่อรับส่ง
ข้อมูลโดยผ่านระบบบัส บนเมนบอร์ดก็จะมีอุปกรณ์ที่สำคัญๆ รวมอยู่ด้วย เช่น สล็อต
ซ็อกเก็ตสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ชิพเซ็ตที่ทำหน้าที่เหมือนแม่บ้าน คอยจัด
การและประสานงานให้กับอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้งบนเมนบอร์ด นอกจากนี้ก็ยังรวม
เอาแผงวงจรและชิพควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์
Controller)
2. แรม
แรมคือหน่วยความจำที่ทำหน้าที่อ่านและเขียนข้อมูลร่วมกับซีพียูอยู่
ตลอดเวลา ข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะต้องมาพักที่แรมเสมอก่อนจะถูกส่ง
ไปยังซีพียู ดังนั้นยิ่งแรมมีขนาดมากขึ้นเท่าไหร่ก็สามารถพักข้อมูลไว้กับแรมได้
มากขึ้น ทำให้ซีพียูไม่ต้องเรียกข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์บ่อยๆ ซึ่งฮาร์ดดิสก์มีความเร็ว
ในการอ่านและเขียนข้อมูลน้อยกว่าแรม ส่งผลให้ระบบของเราทำงานได้เร็วขึ้น
ในปัจจุบันแรมมีหลายชนิด
3. เพาเวอร์ซัพพลาย
พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ
4. ฮาร์ดดิสก์
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่สำหรับเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่
โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลสำหรับติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมต่างๆ
ซึ่งไม่สามารถเก็บไว้ในแผ่นฟล็อบปี้ดิสก์ที่มีความจุน้อยได้ ภายในฮาร์ดดิสก์
จะประกอบไปด้วยแผ่นจานโลหะแข็ง
จะมีแขนที่เป็นตัวเคลื่อนหัวอ่านเข้าไปอ่านและเขียนข้อมูลตามตำแหน่งที่ต้องการ
และจะไม่มีการสัมผัสกับแผ่นโดยตรงแต่จะมีช่องว่างห่างกันประมาณ
ทำให้การอ่านข้อมูลจากแผ่น
จากการสัมผัส โดยจะมีความเร็วรอบอยู่ 5. C D- ROM
การทำงานของ CD-ROM ภายในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้น เมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่มหมุนด้วยความเร็ว หลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็กเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ ที่อยู่รอบนอกกรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวด ลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับ แต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อยๆตลอดทั้งแผ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น