วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์

อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            สแกนเนอร์ (Scanner) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านภาพ และข้อความจากกระดาษ แล้วแปลงเป็นข้อมูลเพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยนำสายสแกนเนอร์ต่อเข้ากับพอร์ตขนานหรือพอร์ต USBของคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับสแกนเนอร์แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 11 : แสดงการต่อพ่วงสายสแกนเนอร์เข้ากับคอมพิวเตอร์


            สแกนเนอร์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มักจะเป็นสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ ( Flatbed Scanner) สแกนเนอร์แบบนี้ สามารถสแกนภาพบนกระดาษได้ครั้งละ 1 แผ่น โดยส่วนใหญ่สแกนเนอร์แบบนี้จะสแกนขนาดกระดาษได้กว้าง 8.5 นิ้ว ยาว 11 นิ้ว แต่สแกนเนอร์บางตัวอาจจะสแกนได้กว้างตั้งแต่8.5 นิ้วและยาวได้ถึง 14 นิ้ว เป็นสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพและเป็นที่นิยมใช้งานกันมาก

รูปที่ 12 : แสดงสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบ




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทเครื่องอ่านรหัสแท่ง
            เครื่องอ่านรหัสแท่ง (BarCode Reader) เป็นอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ มีลักษณะคล้ายปากกาหรือลักษณะอื่น ๆ ทำหน้าที่อ่านรหัสข้อมูลที่ติดไว้บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปมักนิยมใช้บริการขายสินค้า ณ จุดซื้อขาย (Point Of Sales Terminals) ของธุรกิจค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า หรือการบริการยืมคืนหนังสือในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ต้องการ ความรวดเร็วในการกรอกรายละเอียดข้อมูลที่เป็นข้อความและตัวเลข
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 13 : แสดงการเครื่องอ่านรหัสแท่งที่ใช้ในธุรกิจค้าปลีก


            BarCodes Reader ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการกรอกข้อมูลทางแป้นพิมพ์ที่มีรายละเอียดของตัวอักษรและตัวเลขจำนวนมาก หลักการทำงานจะใช้วิธีการยิงแสงเลเซอร์เพื่ออ่านแถบรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้ มีขนาด หนาบางแตกต่างกัน ติดอยู่บนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์แล้วนำรหัสข้อมูลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับรายละเอียดข้อมูล ที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูล (Database) แล้วนำข้อมูลไปแปลงเป็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่จัดเก็บไว้ใน เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปประมวลผลต่อไป โดยที่การทำงานของBarCode Reader นั้นจะต้อง มีโปรแกรมควบคุมการทำงานด้วย

รูปที่ 14 : แสดงรหัสแท่งสีดำที่พิมพ์เรียงกันไว้


รูปที่ 15 : แสดงเครื่องอ่านรหัสแท่งแบบต่าง ๆ




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            จอยสติก (Joystick) คืออุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นคันโยก มีปุ่มบังคับที่ด้ามคันโยก เพื่อควบคุมตำแหน่งบนจอภาพได้ทุกตำแหน่งและทุกทิศทาง มักใช้ควบคุมโปรแกรมประเภทเกม ที่เป็นภาพเคลื่อนไหว วิดีโอเกม หรือโปรแกรมประเภทการออกแบบทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมและใช้งาน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ง่ายและสะดวก เวลาใช้งานให้นำจอยสติกต่อพ่วงกับพอร์ตจอยสติกที่อยู่ในซึ่งอยู่ในส่วน ของการ์ดเสียงด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 16 : แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทจอยสติก




อุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทสแกนเนอร์
            กล้องดิจิตอล (Digital Camera) เป็นกล้องถ่ายภาพโดยไม่ใช้ฟิล์ม แต่จะเก็บข้อมูลเป็นไฟล์คอมพิวเตอร์แทนซึ่ง เราสามารถนำไฟล์ภาพมาประยุกต์ใช้ในงานต่าง ๆ ได้ การใช้งานจะต่อสายเคเบิลระหว่างกล้องดิจิตอลกับพอร์ตของ เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการสำเนาหรือโอนย้ายไฟล์ไปยังตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
กลับสู่ด้านบน
รูปที่ 17: แสดงอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทกล้องดิจิตอล


            กล้องดิจิตอล โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีหน่วยความจำภายในตัวกล้องดิจิตอลเอง ซึ่งหน่วยความจำนี้สามารถเก็บภาพได้อย่างน้อย 20 ภาพ เมื่อถ่ายภาพจนเต็มหน่วยความจำก็ให้ย้ายไฟล์รูปภาพไป ไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วค่อยนำกล้องไปถ่ายภาพใหม่ได้อีกครั้ง

รูปที่ 18 : แสดงกล้องดิจิตอลประเภทที่มีหน่วยความจำภายในตัว




สื่อบันทึกข้อมูล
            สื่อบันทึกข้อมูลหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหน่วยความจำสำรอง มีหน้าที่ในการเก็บข้อมูล เพื่อนำมาเรียกใช้หรือแก้ไขในภายหลังได้ สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้กันอยู่มี หลายประเภทได้แก่ ฮาร์ดดิสก ์แผ่นดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดีรอม ทัมร์ไดร์ฟหรือแฮนดรี้ไดร์ฟ เป็นต้น

ฮาร์ดดิสก์
            ฮาร์ดดิสก์คือสื่อบันทึกข้อมูล ที่มีความจุสูงและถูกติดตั้งไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ โครงสร้างภายในฮาร์ดดิสก์ประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็กหลายแผ่นวางเรียงซ้อนกันบนแกนตั้ง มีมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนแผ่นจานแม่เหล็กด้วยความเร็วสูง แต่ละแผ่นจะมีหัวอ่านเขียน ยึดติดกับก้านหัวอ่าน (Access Arm) ทำหน้าที่เขียนอ่านในแต่ละด้านของแผ่นจานแม่เหล็ก แผ่นดิสก์แต่ละแผ่นมีโครงสร้างคล้ายกับแผ่นดิสก์เก็ต คือแบ่งเป็น แทร็กและเซ็กเตอร์ แต่ละแทร็ก ที่อยู่ในตำแหน่งตรงกันของทุกแผ่นเราเรียกว่า Cylinder ลักษณะการเข้าถึงข้อมูลทำได้ทั้งแบบ Sequential Access และ แบบRandom Access

รูปที่ 19: แสดงโครงสร้างฮาร์ดดิสก์ภายนอกและภายใน


            การวัดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ จะพิจารณาจากเวลาเข้าถึงข้อมูล (Access Time) คือเวลาตั้งแต่เริ่มเข้าถึงตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล จนได้ปริมาณข้อมูลตามที่ต้องการ ต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้คือ

- Seek Time คือเวลาที่หัวอ่านใช้ในการเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่ง Track ที่ต้องการ ถ้าใช้เวลาน้อย แสดงว่าฮาร์ดดิสก์มีประสิทธิภาพสูงมาก

- Rotational Delay Time คือเวลาที่รอให้แผ่นดิสก์หมุนเคลื่อนที่ Sector ที่ต้องการมาตรงกับตำแหน่งของหัวอ่านเขียน ถ้าใช้เวลารอน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูงมาก

- Data Tranfer Time คือเวลาที่ใช้ในการโอนถ่ายข้อมูลจากเซ็กเตอร์ของแผ่นดิสก์เข้าสู่หน่วยความจำ ยิ่งใช้เวลาน้อยแสดงว่ามีประสิทธิภาพสูง ซึ่งจะมีผลต่อปริมาณการโอนถ่ายข้อมูลต่อหนึ่งหน่วยเวลา (Tranfer Rate)

รูปที่ 20 : แสดงหัวอ่านเขียนของฮาร์ดดิสก์


ดิสก์เกต
            ดิสก์เกต (Diskette) หรือแผ่นฟลอบปี้ดิสก์ หรือแผ่นดิสก์ คือสื่อบันทึกข้อมูลที่มีลักษณะเนื้อแผ่นกลมบางทำมาจากพลาสติกไมล่าร์ หมุนอยู่ในพลาสติกห่อหุ้ม (Jacket) อีกชั้นหนึ่ง รหัสข้อมูล0 , 1 สร้างเป็นสัญญาณทางไฟฟ้าบนออกไซด์ของโลหะที่ฉาบไว้ บนแผ่นพลาสติกไมล่าร์ ต้องใช้ร่วมกับเครื่องขับแผ่นดิสก์ สามารถบันทึกและแสดงผลข้อมูลได้

รูปที่ 21 : แสดงรายละเอียดของแผ่นดิสก์ขนาดความจุ 1.44 MB


- metal shutter คือ แผ่นโลหะสำหรับเลื่อนเปิดปิดเพื่ออ่านเขียนข้อมูลภายในดิสก์
- data access area คือพื้นที่สำหรับอ่านเขียนข้อมูล
- hard plastic jacket คือพลาสติกแข็งห่อหุ้มแผ่นดิสก์ที่อยู่ภายใน
- label คือพื้นที่สำหรับติดแผ่นฉลากเพื่อแจ้งให้ทราบว่าเป็นแผ่นที่เก็บข้อมูลอะไร
- hub คือบริเวณหรือตำแหน่งที่เกี่ยวแผ่นดิสก์เมื่อใส่เข้าไปยังเครื่องขับดิสก์
- write-protect notch ตำแหน่งป้องกันการเขียนทับ สามารถเลื่อนเพื่อให้เขียนทับ
หรือไม่ก็ได้ บริเวณดังกล่าวจะมีสัญลักษณ์แสดงว่าปัจจุบันอยู่ในสภาวะใด

รูปที่ 22 : แสดงการใช้แผ่นดิสก์ร่วมกับเครื่องขับดิสก์


            โครงสร้างของเนื้อแผ่นดิสก์ มีการแบ่งโครงสร้างในการบันทึกข้อมูลเป็นวงกลมหลาย ๆ วงบนแผ่นดิสก์ เรียกว่า Track แต่ละ Track จะแบ่งออกเป็นส่วน ๆ แต่ละส่วนเรียกว่า Sector ในแต่ละSector สามารถบรรจุข้อมูลได้ 512 Byte และสามารถใช้บันทึกข้อมูลได้ทั้งด้านบนและด้านล่าง( 2 sides)แผ่นดิสก์แต่ละประเภทมีโครงสร้างจำนวน Track และจำนวน Sector ในแต่ละ Track ต่างกัน ทำให้แผ่นดิสก์มีขนาดความจุต่างกันด้วย

รูปที่ 23 : แสดง Track และ Sector ของแผ่นดิสก์


            แผ่นดิสก์ในปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีขนาด 3.5 นิ้ว มีความจุ 1.44 MB แบบ Double Side High Density แบ่งเป็นวงกลมได้ทั้งหมด 80 วง (คือ 80 Track) ภายใน 1 Track แบ่งออกเป็น 18 Sector แต่ละ Sector เก็บข้อมูลได้ 512 Byte จำนวน 2 หน้า เพราะฉะนั้นแผ่นดิสก์ 1 แผ่นจึงมีความจุเท่ากับ 1,474,560 Byte (80 X 18 X 512 X 2 ) หรือมีค่าเท่ากับ 1,440 KB (1,024 Byte = 1 KB)หรือมีค่าประมาณ 1.44 MB (1,024 KB = 1 MB)

            อดีของแผ่นดิสก์คือง่ายและสะดวกในการพกพา สามารถบันทึกข้อมูลได้หลายครั้ง การอ่านเขียนข้อมูลทำได้ทั้งแบบลำดับ (Sequential) และแบบสุ่ม (Random) ราคาถูก ใช้ได้กับคอมพิวเตอร์แบบ ไมโครคอมพิวเตอร์ทุกประเภท แต่มีข้อเสียคือต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง ความจุน้อย อายุการใช้งานน้อย ถ้าหักงอ โดนความร้อน โดนสนามแม่เหล็ก โดนน้ำ จะทำให้แผ่นดิสก์เสียหายและใช้งานไม่ได้

ซีดีรอม
            ซีดีรอม (Compact Disk-Read Only Memory) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูง โครงสร้างเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic หลักการทำงานจะใช้แสงเลเซอร์ (Laser) ฉายลงไปบนพื้นผิวของแผ่น ทำให้เกิดหลุมรหัสเป็น 0 และ 1 การอ่านข้อมูลก็ใช้แสงเลเซอร์กวาดไปบนพื้นผิวของแผ่นแล้วใช้แสงสะท้อนกลับที่ได้แปลงไปเป็นข้อมูลของคอมพิวเตอร์ ที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านเข้าใจได้

รูปที่ 24 : แสดงแผ่นซีดีรอม


            แผ่นซีดีรอมมีลักษณะเหมือนแผ่นซีดีเพลงทั่วไป มีความจุประมาณ 600 - 700 MB แล้วแต่บริษัทผู้ผลิต มีความยาวของการบันทึกข้อมูลได้ประมาณ 74 นาที อ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมได้อย่างเดียวผู้ใช้ไม่สามารถลบหรือบันทึก ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ข้อมูลจะถูกบันทึกมาจากบริษัทผู้ผลิตแล้ว ประโยชน์ของซีดีรอมคือ ใช้ในการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ หรือ ข้อมูลที่มีขนาดความจุมากพอสมควรเก็บรักษาได้ง่ายกว่าแผ่นดิสก์ การนำแผ่นซีดีรอมไปใช้งานจะต้องใช้ร่วมกับอุปกรณ์อ่าน ข้อมูลที่เรียกว่าซีดีรอมไดร์ฟ มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access             ความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟจะใช้หน่วยวัดเป็น จำนวนเท่า ของความเร็วการอ่านข้อมูลที่ 150Kb ต่อวินาที ซึ่งเป็นความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟรุ่นแรก ๆ โดยจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร “X” ต่อท้ายเพื่อบอกจำนวนเท่า สำหรับซีดีรอมที่จำหน่ายในปัจจุบันมีความเร็วอย่างน้อย 50 X

รูปที่ 25 :แสดงแผ่นซีดีรอมและซีดีรอมไดร์ฟ


            ซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า WORM (Write Once Read Many ) มีลักษณะเช่นเดียวกับแผ่นซีดีรอมทั่วไป แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น WORM ได้ 1 ครั้ง โดยใช้ซีดีรอมไดร์ฟชนิดบันทึกได้ที่เรียกว่า CD-ROM Recordable แต่สามารถอ่านข้อมูลที่บันทึกไว้กี่ครั้งก็ได้ มีความจุประมาณ 650 MB มีลักษณะการเข้าถึงข้อมูลแบบ Random Access มีราคาแพงกว่าแผ่นซีดีรอมทั่วไป

รูปที่ 26 : แสดงแผ่นซีดีรอม WORM


            แผ่นซีดีรอมอีกประเภทหนึ่งเรียกว่า Erasable Optical Disks มีลักษณะแนวคิดในการเขียนอ่านได้หลาย ๆ ครั้ง เหมือนกับแผ่นดิสก์แต่ใช้แสงเลเซอร์ในการทำงาน การใช้งานต้องใช้งานร่วมกับ Optical Disk Drive หรือที่เรียกว่า MO (Magneto-optical) หรือที่เรียกว่า CD-Writer ปัจจุบันนิยมซื้อหามาใช้กันมากเพราะมีราคาถูก และใช้งานแทนซีดีรอมทั่วไปได้ เพราะสามารถอ่านหรือเขียนแผ่นซีดีรอมได้ มีขายตามร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั่วไป

รูปที่ 27 : แสดงแผ่นซีดีรอมที่สามารถอ่านและเขียนได้


ดีวีดีรอม
            ดีวีดีรอม (DVD-ROM) เป็นสื่อบันทึกข้อมูลที่มีความจุสูงมากกว่าซีดีรอม โครงสร้างของแผ่นเป็นแผ่นพลาสติกทรงกลมบาง ๆ ที่ฉาบด้วยโลหะ metalic ดีวีดีรอมสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า 4.7 GB ซึ่งเหมาะสำหรับการเก็บภาพยนตร์หรือไฟล์มัลติมีเดีย จำนวนมาก ภาพและเสียงของดีวีดีรอมจะมีความคมชัดมากกว่าซีดีรอม แต่แผ่นดีวีดีรอมจะต้องใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ ดีวีดีรอมไดร์ฟ อุปกรณ์ดีวีดีรอมไดร์ฟสามารถอ่านแผ่นได้ทุกประเภท            

รูปที่ 28 : แสดงแผ่นดีวีดีรอมที่ใช้ร่วมกับดีวีดีรอมไดร์ฟ


แฮนดี้ไดร์ฟ
            แฮนดี้ไดร์ฟ (Handy Drive) หรือทัมพ์ไดร์ฟ (Thum Drive) คือสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบัน ได้รับความนิยมใช้กันมาก สื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้สามารถอ่านและเขียนข้อมูลได้เหมือนกับแผ่นดิสก์ และฮาร์ดดิสก์ แต่มีข้อดีตรงที่ว่าพกพาได้สะดวกขนาดเล็กกว่าแผ่นดิสก์ มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์หลายเท่า เช่น 128 , 256 , 512 MB , 1 GB , 2 GB พอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อกับสื่อบันทึกข้อมูลชนิดนี้คือพอร์ต USB (Universal Serial Bus)

  
รูปที่ 29 :

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น